Cute Rocket

วันอังคารที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 8

บันทึกครั้งที่ 8
วันจันทร์ 5 สิงหาคม 2556


            สวัสดีค่ะ เนื่องจากวันนี้เป็นวันหยุด เพราะว่าอยู่ในช่วงของการสอบกลางภาคก็เลยไม่มีการเรียนการสอนนะคะ



ค้นคว้าเพิ่มเติม




แนวคิดการสอนวิทยาศาสตร์ & เทคนิคพ่อแม่
ทักษะทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย    (18/08/08 )

     เด็กปฐมวัยเป็นวัยที่มีความอยากรู้อยากเห็นต่อสิ่งแวดล้อมอยู่ตลอดเวลา เพราะเป็นวัยที่มีการพัฒนาทางสติปัญญา สูงที่สุดของชีวิต ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นทักษะที่ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยสามารถคิดหา เหตุผล แสวงหาความรู้ สามารถแก้ปัญหาได้ ตามวัยของเด็ก ควรจัดกิจกรรมให้เด็ก ได้ลงมือกระทำด้วยตนเองจากสิ่งแวดล้อมรอบ ๆ ตัว
      ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นกระบวนการขั้นพื้นฐานหรือทักษะเบื้องต้นที่ควรส่งเสริมให้เด็กปฐมวัย ได้รับการพัฒนา มี 7 ทักษะกระบวนการ คือ
การทดลองแสนสนุก
         การทดลองวิทยาศาสตร์เป็นเรื่องสนุก และน่าทึ่งสำหรับเด็กๆอย่างพวกเรา  กานต์มีการทดลองง่ายๆ ใช้อุปกรณ์ที่มีอยู่ในครัวของคุณแม่ หรือห้องเก็บของในบ้าน



สิ่งที่ต้องใช้
  • ปากกาเก่าๆที่หมึกหมดแล้ว (หรือพู่กันเล็กๆ)
  • น้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาว
  • กระดาษ
  • เทียนไข
วิธีทดลอง
  • นำปากกามาจุ่มลงในน้ำส้มสายชู แล้วขียนตัวหนังสือลงในกระดาษ เขียนตัวใหญ่ๆหน่อยนะครับจะได้มองเห็นชัดๆ 
  • ทิ้งไว้จนกระดาษแห้ง
  • วิธีอ่านข้อความในจดหมายก็คือ นำไปส่องกับแสนเทียนตัวหนังสือปริศนาจะปรากฏขึ้นทันที หากกลัวไฟไหม้กระดาษก็ใช้เตารีดมารีด หรือเป่าด้วยเครื่องเป่าผมก็ได้ครับ

เพราะอะไรกันนะ
          ทำไมเวลาที่มะนาวเขียนใส่ลงในกระดาษแล้วนำไปลนไฟจะเกิดเป็นรอยไหม้สีนำตาล
เนื่องจากน้ำมะนาวที่ถูกความร้อนจะเกิดปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับออกซิเจนใน อากาศ เมื่อถูกออกซิไดซ์น้ำมะนาวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล           นอกจากน้ำมะนาวแล้วยังมีสารอีกบางชนิดที่ใช้ทำหมึกล่องหนชนิด กระตุ้นด้วยความร้อน เช่น นม น้ำส้ม น้ำแอปเปิ้ลน้ำหอมใหญ่ สารละลายน้ำตาล น้ำผึ้งเจือจาง โค้กหรือเป๊บซี่เจือจาง ไวน์ หรือแม้แต่น้ำสบู่ ลองดูนะครับ



ขวดเป่าลูกโป่ง



ก๊าซเป็นสิ่งที่เรามองไม่เห็นแต่เรารู้ว่ามันเกิดขึ้นและมีอยู่ได้โดยจับมันไว้ในลูกโป่ง  อย่างการทดลองนี้ไง

สิ่งที่ต้องใช้
  • ขวดแก้วเตี้ย อย่างขวดน้ำส้มสแปลช 1 ขวด
  • ลูกโป่ง 1 ใบ
  • ผงฟู (เบกกิ้งโซดา) 5 ช้อนโต๊ะ
  • น้ำส้มสายชู
วิธีทดลอง
  • เป่าลูกโป่งให้ยืดตัวก่อนทดลองสัก 2 รอบ
  • ใส่เบกกิ้งโซดา ลงในขวดแก้ว
  • เติมน้ำส้มสายชูลงไป
  • ครอบลูกโป่งลงบนปากขวด
เพราะอะไรกันนะ
            เมื่อเบกกิ้งโซดา ทำปฏิกิริยากับน้ำส้มสายชูจะเกิดก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซด์ขึ้นก๊าซเบากว่าอากาศ จึงลอยสูงขึ้นเมื่อมีก๊าซมากๆก็จะดันลูกโป่งให้พองออกได้
เบกกิ้งโซดา (Baking Soda) มีชื่อทางวิทย่ศาสตร์ว่า  โซเดียมไบคาร์บอเนต (Sodium Bicarbonate) หรือที่คุณแม่เรียกว่าผงฟู นั่นเอง









ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น