Cute Rocket

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 19

บันทึกครั้งที่ 19

สรุปงานวิจัย

เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

ปริญญานิพนธ์

ของ

เสกสรร มาตวังแสง

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ตุลาคม 2552


บทนำ


         พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติสาระตามแนวทางการปฏิรูป
การศึกษา เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้
และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ใน
หมวด 4 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะ เด็กอายุ 3-5 ปี เป็นวัยที่ร่างกายและสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กต้องการความรัก ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้สำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหาเลือกตัดสินใจ ใช้ภาษา สื่อความหมาย คิดริเริ่มสร้างสรรค์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัยเป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นส่งเสริมให้เด็กสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวตามความสนใจของเด็กทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคลโดยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่เน้นขั้นตอนทางการคิด การค้นคว้า การทดลองและการสรุปผล โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจเล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551: 170) ที่กล่าวว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก เด็กได้ปฏิบัติจริง เรียนรู้จากการสัมผัสและการกระทำ เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตเกิดมุมมองจากการได้สัมผัส ได้รับรู้ประสบการณ์ของตน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยจะส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ ของเด็กต่อไป


ความมุ่งหมายของการวิจัย


          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้

1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์


ความสำคัญของการวิจัย

          การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูในการนำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้
สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการ
พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ
ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มี
ประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย


ประชากร

          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
สุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี 
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน 
จำนวน 50 คน


กลุ่มตัวอย่าง

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน
สุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี
โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้

1. เลือกนักเรียนมา 1 ห้องเรียนจากทั้งหมด 2 ห้องเรียนด้วยการจับสลาก
2. จับสลากนักเรียนจำนวน 15 คน ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย


ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ


วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล


การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้

1. แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
2. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่าง 1 สัปดาห์ก่อนการทดลอง
2. ผู้วิจัยทำการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณก่อนการทดลอง (Pre-test)
โดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
3. ดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 สัปดาห์
4. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบการคิดวิจารณญาณ
หลังการทดลอง (Post-test) กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง
5. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้งก่อนและหลังการทดลองมาตรวจให้คะแนน และ
นำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐานสรุปผลการวิจัยต่อไป

สรุปผลการวิจัย

เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้

1. ระดับการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

2. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวม หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.93
คะแนน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีการ
วิเคราะห์สูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 การใช้เหตุผลสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 1.93 การสังเคราะห์สูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 และการประเมินค่าสูงขึ้น
มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.60 ทุกด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01








วันพุธที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 18

บันทึกครั้งที่ 18
วันจันทร์ ที่ 30 กันยายน 2556



           วันนี้้เป็นวันสุดท้ายของการเรียนในรายวิชานี้ คุณครูให้ส่งสื่อเข้ามุมเพื่อจัดประสบการณ์ให้กับเด็กและให้ส่งสื่อของเล่นวิทยาศาสตร์ที่ทำเดี่ยว พร้อมกับให้คำแนะนำในการปรับปรุงชิ้นงานและติดตามการปรับปรุงชิ้นงานของนักศึกษา มีภาพบรรยากาศการส่งงานมาฝากด้วยนะคะ ไปชมกันเลยค่ะ


นี่คือของเล่นวิทยาศาสตร์ ชื่อว่าไหมพรมเต้นระบำ  ของดิฉันค่ะ
                                     

                                      
                                      

ความรู้เพิ่มเติม

แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์


เกรก  (Graig) ได้ให้แนวคิดพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เอาไว้ 5 ประการ ที่เรียกว่า Griag's Basic Concepts มีลักษณะรวมที่สำคัญ 5 ประการ คือ

1. การเปลี่ยนแปลง ( Change ) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น จึงควรให้เด็กแลเห็นและเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งต่างๆ เช่น เวลา น้ำหนักของตัวเด็กเอง และสิ่งอื่นๆที่อยู่รอบตัวเด็ก

2. ความแตกต่าง (Variety) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มีความคล้ายคลึงกันแต่ไม่เหมือนกัน จึงควรให้เด็กเข้าใจถึงความแตกต่างและความเหมือนของสิ่งต่างๆ โดยอาศัยการสังเกตสิ่งต่างๆรอบๆตัว

3. การปรับตัว (Adjustment)  ทุกสิ่งทุกอย่างจะมีการปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม ครูจึงควรให้เด็กสังเกตถึงธรรมชาติประการนี้จากสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเอง เช่น จิ้งจกจะเปลี่ยนสีตามผนังที่เกาะ ฯลฯ

4. การพึ่งพาอาศัยกัน (Muturit) ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องพึ่งพาอาศัยกัน เช่น คนกับเงิน นกเอี้ยงกับควาย ดังนั้นครูจึงควรให้เด็กแลเห็นธรรมชาติประการนี้เพื่อให้สามารถปรับตัวได้

5. ความสมดุล (Equitibrium)   ทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้จะต้องต่อสู้เพื่อรักษาชีวิตและปรับตัวให้ได้สมดุล และผสมกลมกลืนกัน เช่น ปลาอยู่ในน้ำ นกบินได้ ปลาใหญ่ย่อมกินปลาเล็ก สัตว์แข็งแรงย่อมกินสัตว์ที่อ่อนแอ สัตว์ที่อ่อนแอต้องมีอาวุธพิเศษบางอย่างไว้ป้องกันตัว เด็กควรมีความเข้าใจถึงธรรมชาติประเภทนี้ เพื่อให้ตนเองซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติสามารถรักษาสมดุลไว้ได้

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 17

บันทึกครั้งที่ 17

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556






          วันนี้คุณครูให้ทำแกงจืด โดยให้สอนเพื่อนๆ เหมือนกับว่าเราสอนเด็กๆปฐมวัย ซึ่งฝึกให้เด็กๆได้รู้จักการสังเกต เช่นการเปลี่ยนแปลงของสีของผัก หรือสีของเนื้อหมู และสีของวัตถุดิบอื่นๆ โดยจะเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ ก็คือการที่เด็กๆได้สังเกต  นั่นเอง แล้วก็มีภาพประกอบการทำแกงจืดมาฝากให้ชมกันด้วยนะคะ


วัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับการทำแกงจืด




แนะนำวัตถุดิบต่างๆให้ เพื่อนๆได้รู้จัก



ตั้งไฟกระทะเพื่อให้น้ำเดือด


        ให้เพื่อนๆได้มีส่วนร่วมในการทำแกงจืด
 เช่น ใส่เครื่องปรุงรส ใส่หมู เป็นต้น



เพื่อนๆได้มีส่วนร่วมในการทำแกงจืด
เพิ่มคำอธิบายภาพ







เสร็จแล้วค่ะ แกงจืดของพวกเรา







บันทึกครั้งที่ 16

บันทึกครั้งที่  16

วันจันทร์  ที่ 16 กันยายน  2556 




         วันนี้คุณครูตฤณ   แจ่มถิน  สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ เรื่องการทำอาหาร ( Cooking ) โดยให้แบ่งกลุ่มจำนวน 6 กลุ่ม  จะเลือกเขียนอาหารประเภทไหนก็ได้  จากนั้นครูก็ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ แล้วให้ลงมติกันว่า จะเลือกอาหารหรือแผนของกลุ่มไหนมาสอนในสัปดาห์ถัดไป  ซึ่งแผนที่ได้ก็คือ แกงจืด ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉันเองค่ะ




ภาพประกอบการเขียนแผนค่ะ







ค้นคว้าเพิ่มเติม 



วิธีทำต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาว





ส่วนประกอบ ต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาว


หมูสับ 100 กรัม
ลูกชิ้นปลาหรือหมูอย่างดี 100 กรัม
วุ้นเส้นแช่น้ำพอนิ่ม 100 กรัม
ผักกาดขาวต้นกลางๆ 1 ต้น
แครอต 50 กรัม
ต้นหอม 1 ต้น
ผักชี 1 ต้น
กระเทียม 4 กลีบ
พริกไทย ¼ ช้อนชา
น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
ผงปรุงรสหมู ½ ช้อนชา
น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุบประดูกหมู 2 ถ้วย



วิธี ทำอาหาร ต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาว

1.หมูสับใส่ชามปรุงรสด้วยน้ำมันหอยและผงปรุงรสหมู คลุกเคล้าให้เข้ากัน ลูกชิ้นผ่าครึ่ง ต้นหอม ผักชีเลือกและล้างให้สะอาด หั่นฝอยแล้วพักไว้ ผักกาดขาวล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3 ซม. แครอตปลอกเปลือกล้างน้ำ หั่นเป็นเส้นๆ
2.กระเทียมสับหยาบๆ นำไปเจียวในน้ำมันพืชใช้ไฟกลาง พอเหลืองหอมตักขึ้นพักไว้
3.นำน้ำซุบใส่หม้อตั้งไฟกลาง พอเดือดนำหมูสับที่ปรุงรสเรียบร้อยแล้วลงเป็นก้อนจนหมด ใส่แครอตต้มประมาณ 3 นาที เติมผักกาดขาวลงต้มต่อ ใส่ลูกชิ้น วุ้นเส้นลง ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี ชิมรสตามใจชอบ รอเดือด ปิดไฟ
4.เตรียมชามใส่ผักชีที่หั่นฝอยไว้แล้ว ตักต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาวลง โรยหน้าด้วยพริกไทยป่นและกระเทียมเจียว เสริฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ
                                                             





วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 15

บันทึกครั้งที่  15

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556

เรียนชดเชย วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556

            วันนี้้คุณครูให้นำเสนอสื่อเข้ามุมและการทดลองวิทยาศาสตร์ ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งกลุ่มของเราก็ได้นำกล่องกระดาษที่ครูให้มากลุ่มละหนึ่งกล่อง โดยให้นักศึกษานำไปสร้างสรรค์เป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และกลุ่มของดิฉันจึงได้นำมาทำเป็นฉากสำหรับเล่านิทาน โดยใช้แม่เหล็กมาติดกับตัวละครในนิทานเพื่อให้ตัวละครสามารถเคลื่อนที่ได้   และมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ



สื่่อเข้ามุมชิ้นนี้มีชื่อว่า นิทานมหัศจรรย์






อุปกรณ์

กล่องกระดาษ 1 กล่อง





ตัดด้านหน้าและข้างหลังของกล่องออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมดังภาพ


ตัดด้านข้างของกล่องออกเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยเหลืออีกด้านเอาไว้ไม่ต้องตัด
นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดทำเป็นฉากนิทานแต่ละฉากที่วางรูปแบบเอาไว้

นำกระดาษสีดำมาติดรอบๆกล่อง 



ใช้คัตเตอร์ตัดฟิวเจอร์บอร์ด นำมาทำเป็นฉากนิทาน จำนวน 4 ฉาก




ตัดกระดาษให้มีขนาดเท่ากับฟิวเจอร์บอร์ดที่ตัด แล้วนำกระดาษมาติดลงบนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เพื่อเป็นพื้นหลังของฉาก จากนั้นก็นำรูปสัตว์ต่างๆมาตกแต่งให้สวยงาม ซึ่งฉากที่ทำก็มีทั้งหมด 4 ฉาก คือ ฉากบ้าน ฉากป่า ฉากทะเล และฉากโรงเรียนค่ะ

เสร็จแล้วค่ะฉากนิทานของเรา หลังจากทำกันมานานหลายวัน สำหรับใครที่สนใจก็สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ทำสื่อแบบอื่นๆได้นะคะ ไม่หวงค่ะ  เพื่อน้องๆจะได้มีสื่อการศึกษากันเยอะๆค่ะ


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 12

บันทึกครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม 2556


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีงานเกษียณอายุราชการของคุณครูที่คณะ

ความรู้เพิ่มเติม


ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA 14 โคจรใกล้โลก : 16 กุมภาพันธุ์ 

ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์น้อย 2012 ดีเอ 14 ขนาดประมาณ 45 เมตร จะโครเข้าใกล้โลกในระยะ 27,000 กิโลเมตร ซึ่งใกล้กว่าวงโคจรของดาวเทียมค้างฟ้า ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นี้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์เฝ้าจับตาชม แต่เชื่อว่าไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อโลก 



ดาวหางแพนสตาร์ โคจรใกล้โลก : 5 มีนาคม 

ปรากฏการณ์ดาวหางแพนสตาร์ ใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2556 และจะสุกสว่างมากที่สุดในวันที่ 10 มีนาคม 2556 แต่จะเห็นได้ชัดในวันที่ 9-17 มีนาคม ส่วนช่วงที่ประเทศไทยสามารถจะสังเกตดาวหางได้ดีที่สุดคือช่วงที่ดาวหางเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่คาดว่าดาวหางสว่างที่สุด และตกลับขอบฟ้าช้าที่สุด 



จันทรุปราคาบางส่วน : 26 เมษายน 

ในช่วงรุ่งสางของวันที่ 26 เมษายนนี้ เราจะได้ชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน โดยเริ่มต้นตั้งแต่เวลา 2.54 น. และจะสิ้นสุดลงในเวลา 5.11 น. โดยประเทศไทยสามารถชมปรากฏการณ์นี้ได้พร้อมกับประเทศทางซีกโลกตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และ ออสเตรเลีย 



ดาวหางไอซอน : เดือนพฤศจิกายน 

ปรากฏการณ์ดาวหางไอซอน สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน และสว่างที่สุดในวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2556 และอาจสุกสว่างใกล้เคียงกับดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว นอกจากนี้ดาวหางไอซอนจะใกล้โลกที่สุดราววันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 โดยห่างจากโลกประมาณ 64 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเราสามารถชมดาวหางไอซอนได้ยาวต่อเนื่องถึงช่วงต้นปีหน้า ซึ่งเชื่อว่าเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดในรอบ 10 ปี เลยทีเดียว 


ขณะที่ปรากฏการณ์ฝนดาวตกในปีนี้ จะเกิดขึ้นมากกว่า 6 ช่วงเวลา โดยช่วงที่คาดว่าจะเกิดได้มากที่สุดคือ คืนวันที่ 12 สิงหาคม ถึงเช้ามืดของวันที่ 13 สิงหาคม โดยจะมีฝนดาวตกมากกว่า 60 ดวง 

ที่มาของข้อมูล : http://www.kroobannok.com/55916




วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 14

บันทึกครั้งที่ 14

วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556




            วันนี้คุณครูไม่อยู่ ไปประชุมที่ต่างจังหวัดจึงไม่สามารถเข้าสอนได้ แต่จะสอนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 


ค้นคว้าเพิ่มเติม


วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4





         วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี