Cute Rocket

วันศุกร์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 17

บันทึกครั้งที่ 17

วันจันทร์ที่ 23 กันยายน 2556






          วันนี้คุณครูให้ทำแกงจืด โดยให้สอนเพื่อนๆ เหมือนกับว่าเราสอนเด็กๆปฐมวัย ซึ่งฝึกให้เด็กๆได้รู้จักการสังเกต เช่นการเปลี่ยนแปลงของสีของผัก หรือสีของเนื้อหมู และสีของวัตถุดิบอื่นๆ โดยจะเชื่อมโยงกับวิทยาศาสตร์ ก็คือการที่เด็กๆได้สังเกต  นั่นเอง แล้วก็มีภาพประกอบการทำแกงจืดมาฝากให้ชมกันด้วยนะคะ


วัตถุดิบและเครื่องปรุงสำหรับการทำแกงจืด




แนะนำวัตถุดิบต่างๆให้ เพื่อนๆได้รู้จัก



ตั้งไฟกระทะเพื่อให้น้ำเดือด


        ให้เพื่อนๆได้มีส่วนร่วมในการทำแกงจืด
 เช่น ใส่เครื่องปรุงรส ใส่หมู เป็นต้น



เพื่อนๆได้มีส่วนร่วมในการทำแกงจืด
เพิ่มคำอธิบายภาพ







เสร็จแล้วค่ะ แกงจืดของพวกเรา







บันทึกครั้งที่ 16

บันทึกครั้งที่  16

วันจันทร์  ที่ 16 กันยายน  2556 




         วันนี้คุณครูตฤณ   แจ่มถิน  สอนการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ เรื่องการทำอาหาร ( Cooking ) โดยให้แบ่งกลุ่มจำนวน 6 กลุ่ม  จะเลือกเขียนอาหารประเภทไหนก็ได้  จากนั้นครูก็ให้แต่ละกลุ่มออกไปนำเสนอ แล้วให้ลงมติกันว่า จะเลือกอาหารหรือแผนของกลุ่มไหนมาสอนในสัปดาห์ถัดไป  ซึ่งแผนที่ได้ก็คือ แกงจืด ซึ่งเป็นกลุ่มของดิฉันเองค่ะ




ภาพประกอบการเขียนแผนค่ะ







ค้นคว้าเพิ่มเติม 



วิธีทำต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาว





ส่วนประกอบ ต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาว


หมูสับ 100 กรัม
ลูกชิ้นปลาหรือหมูอย่างดี 100 กรัม
วุ้นเส้นแช่น้ำพอนิ่ม 100 กรัม
ผักกาดขาวต้นกลางๆ 1 ต้น
แครอต 50 กรัม
ต้นหอม 1 ต้น
ผักชี 1 ต้น
กระเทียม 4 กลีบ
พริกไทย ¼ ช้อนชา
น้ำปลาดี 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
ผงปรุงรสหมู ½ ช้อนชา
น้ำมันพืช 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุบประดูกหมู 2 ถ้วย



วิธี ทำอาหาร ต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาว

1.หมูสับใส่ชามปรุงรสด้วยน้ำมันหอยและผงปรุงรสหมู คลุกเคล้าให้เข้ากัน ลูกชิ้นผ่าครึ่ง ต้นหอม ผักชีเลือกและล้างให้สะอาด หั่นฝอยแล้วพักไว้ ผักกาดขาวล้างน้ำให้สะอาด หั่นเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3 ซม. แครอตปลอกเปลือกล้างน้ำ หั่นเป็นเส้นๆ
2.กระเทียมสับหยาบๆ นำไปเจียวในน้ำมันพืชใช้ไฟกลาง พอเหลืองหอมตักขึ้นพักไว้
3.นำน้ำซุบใส่หม้อตั้งไฟกลาง พอเดือดนำหมูสับที่ปรุงรสเรียบร้อยแล้วลงเป็นก้อนจนหมด ใส่แครอตต้มประมาณ 3 นาที เติมผักกาดขาวลงต้มต่อ ใส่ลูกชิ้น วุ้นเส้นลง ปรุงรสด้วยน้ำปลาดี ชิมรสตามใจชอบ รอเดือด ปิดไฟ
4.เตรียมชามใส่ผักชีที่หั่นฝอยไว้แล้ว ตักต้มจืดวุ้นเส้นผักกาดขาวลง โรยหน้าด้วยพริกไทยป่นและกระเทียมเจียว เสริฟพร้อมข้าวสวยร้อนๆ
                                                             





วันพุธที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 15

บันทึกครั้งที่  15

วันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556

เรียนชดเชย วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556

            วันนี้้คุณครูให้นำเสนอสื่อเข้ามุมและการทดลองวิทยาศาสตร์ ต่อจากสัปดาห์ที่แล้วซึ่งกลุ่มของเราก็ได้นำกล่องกระดาษที่ครูให้มากลุ่มละหนึ่งกล่อง โดยให้นักศึกษานำไปสร้างสรรค์เป็นอะไรก็ได้ แต่ต้องเกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์ และกลุ่มของดิฉันจึงได้นำมาทำเป็นฉากสำหรับเล่านิทาน โดยใช้แม่เหล็กมาติดกับตัวละครในนิทานเพื่อให้ตัวละครสามารถเคลื่อนที่ได้   และมีขั้นตอนดังนี้ค่ะ



สื่่อเข้ามุมชิ้นนี้มีชื่อว่า นิทานมหัศจรรย์






อุปกรณ์

กล่องกระดาษ 1 กล่อง





ตัดด้านหน้าและข้างหลังของกล่องออกเป็นรูปสี่เหลี่ยมดังภาพ


ตัดด้านข้างของกล่องออกเป็นสี่เหลี่ยมคล้ายสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยเหลืออีกด้านเอาไว้ไม่ต้องตัด
นำฟิวเจอร์บอร์ดมาตัดทำเป็นฉากนิทานแต่ละฉากที่วางรูปแบบเอาไว้

นำกระดาษสีดำมาติดรอบๆกล่อง 



ใช้คัตเตอร์ตัดฟิวเจอร์บอร์ด นำมาทำเป็นฉากนิทาน จำนวน 4 ฉาก




ตัดกระดาษให้มีขนาดเท่ากับฟิวเจอร์บอร์ดที่ตัด แล้วนำกระดาษมาติดลงบนแผ่นฟิวเจอร์บอร์ด เพื่อเป็นพื้นหลังของฉาก จากนั้นก็นำรูปสัตว์ต่างๆมาตกแต่งให้สวยงาม ซึ่งฉากที่ทำก็มีทั้งหมด 4 ฉาก คือ ฉากบ้าน ฉากป่า ฉากทะเล และฉากโรงเรียนค่ะ

เสร็จแล้วค่ะฉากนิทานของเรา หลังจากทำกันมานานหลายวัน สำหรับใครที่สนใจก็สามารถนำเอาไปประยุกต์ใช้ทำสื่อแบบอื่นๆได้นะคะ ไม่หวงค่ะ  เพื่อน้องๆจะได้มีสื่อการศึกษากันเยอะๆค่ะ


วันพุธที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 12

บันทึกครั้งที่ 12

วันจันทร์ ที่ 26 สิงหาคม 2556


วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนเนื่องจากมีงานเกษียณอายุราชการของคุณครูที่คณะ

ความรู้เพิ่มเติม


ดาวเคราะห์น้อย 2012 DA 14 โคจรใกล้โลก : 16 กุมภาพันธุ์ 

ปรากฏการณ์ดาวเคราะห์น้อย 2012 ดีเอ 14 ขนาดประมาณ 45 เมตร จะโครเข้าใกล้โลกในระยะ 27,000 กิโลเมตร ซึ่งใกล้กว่าวงโคจรของดาวเทียมค้างฟ้า ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ นี้ ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่นักดาราศาสตร์และนักวิทยาศาสตร์เฝ้าจับตาชม แต่เชื่อว่าไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อโลก 



ดาวหางแพนสตาร์ โคจรใกล้โลก : 5 มีนาคม 

ปรากฏการณ์ดาวหางแพนสตาร์ ใกล้โลกมากที่สุดในวันที่ 5 มีนาคม 2556 และจะสุกสว่างมากที่สุดในวันที่ 10 มีนาคม 2556 แต่จะเห็นได้ชัดในวันที่ 9-17 มีนาคม ส่วนช่วงที่ประเทศไทยสามารถจะสังเกตดาวหางได้ดีที่สุดคือช่วงที่ดาวหางเริ่มปรากฏบนท้องฟ้าเวลาหัวค่ำ ซึ่งเป็นเวลาที่คาดว่าดาวหางสว่างที่สุด และตกลับขอบฟ้าช้าที่สุด 



จันทรุปราคาบางส่วน : 26 เมษายน 

ในช่วงรุ่งสางของวันที่ 26 เมษายนนี้ เราจะได้ชมปรากฏการณ์จันทรุปราคาบางส่วน โดยเริ่มต้นตั้งแต่เวลา 2.54 น. และจะสิ้นสุดลงในเวลา 5.11 น. โดยประเทศไทยสามารถชมปรากฏการณ์นี้ได้พร้อมกับประเทศทางซีกโลกตะวันออกของอเมริกาใต้ ยุโรป แอฟริกา เอเชีย และ ออสเตรเลีย 



ดาวหางไอซอน : เดือนพฤศจิกายน 

ปรากฏการณ์ดาวหางไอซอน สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าในช่วงต้นเดือนพฤศจิกายน และสว่างที่สุดในวันที่ 28-29 พฤศจิกายน 2556 และอาจสุกสว่างใกล้เคียงกับดวงจันทร์เต็มดวงทีเดียว นอกจากนี้ดาวหางไอซอนจะใกล้โลกที่สุดราววันที่ 26-27 ธันวาคม 2556 โดยห่างจากโลกประมาณ 64 ล้านกิโลเมตร ซึ่งเราสามารถชมดาวหางไอซอนได้ยาวต่อเนื่องถึงช่วงต้นปีหน้า ซึ่งเชื่อว่าเป็นดาวหางที่สว่างที่สุดในรอบ 10 ปี เลยทีเดียว 


ขณะที่ปรากฏการณ์ฝนดาวตกในปีนี้ จะเกิดขึ้นมากกว่า 6 ช่วงเวลา โดยช่วงที่คาดว่าจะเกิดได้มากที่สุดคือ คืนวันที่ 12 สิงหาคม ถึงเช้ามืดของวันที่ 13 สิงหาคม โดยจะมีฝนดาวตกมากกว่า 60 ดวง 

ที่มาของข้อมูล : http://www.kroobannok.com/55916




วันจันทร์ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 14

บันทึกครั้งที่ 14

วันจันทร์ ที่ 9 กันยายน 2556




            วันนี้คุณครูไม่อยู่ ไปประชุมที่ต่างจังหวัดจึงไม่สามารถเข้าสอนได้ แต่จะสอนชดเชยในวันอาทิตย์ ที่ 15 กันยายน 2556 


ค้นคว้าเพิ่มเติม


วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4





         วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เป็นวันสำคัญของไทยและมีความสำคัญต่อวงการวิทยาศาสตร์และดาราศาสตร์ไทย กำหนดให้ตรงกับวันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี ซึ่งเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวงเมื่อ พ.ศ. 2411 ปัจจุบันมีการจัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ขึ้นเป็นประจำทุกปี








วันเสาร์ที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 13

บันทึกครั้งที่ 13

วันจันทร์ ที่ 2 กันยายน 2556


            วันนี้คุณครูให้ส่งสื่อเข้ามุม ที่มีหลักการของวิทยาศาสตร์เข้ามาเกี่ยวข้อง โดยให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอหน้าชั้นเรียน ซึ่งเพื่อนๆแต่ละกลุ่มก็ทำสื่อมาดีมากๆ มีความน่าสนใจ แต่สื่อบางชิ้นอาจไม่ค่อยมีความแข็งแรงคงทน ถ้าให้เด็กเล่นอาจพังได้ง่าย ดังนั้นคุณครูจึงได้แนะนำว่า การทำสื่อสำหรับเด็กไม่ว่าจะเป็นสื่อประเภทใดก็ตามต้องทำสื่อให้มีความคงทน มีความปลอดภัยและเหมาะสมกับเด็กแต่ละวัย เพื่อป้องกันไม่ให้สื่อชำรุดง่าย และสามารถเล่นได้นาน 


วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 11


บันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 19 สิงหาคม 2556
วันจันทร์ 19 สิงหาคม 2556





             วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน โดยกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอการทดลองที่มีชื่อว่า กังหันไฟฟ้าสถิตย์  ( Electrostatic Fan ) ซึ่งกังหันไฟฟ้าสถิตย์ เป็นอุปกรณ์ที่แสดงถึงพลังของไฟฟ้าสถิตย์ ที่หลักแหลมตัวหนึ่ง แทนที่จะใช้ลูกโป่งดูดเศษกระดาษเล่นที่เห็นอยู่ทั่วไป นอกจากการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าสถิตย์แล้ว ยังจะเข้าใจเรื่องความฝืด และอีกเรื่องหนึ่งด้วยคือ ดาวกระดาษที่วางอยู่บนปลายดินสอที่แทบจะไม่มีความฝืดนั้น ทำให้เราสามารถใช้แรงผลักที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์ เพื่อหมุนดาวกระดาษไปรอบๆ ได้ และขั้นตอนการทดลองก็มีดังนี้ค่ะ


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการทดลอง

อุปกรณ์

         1.กระดาษ A4 
          2.ลูกโป่ง 1 ลูก 
    3.ดินน้ำมัน 
  4.กรรไกร
5.ดินสอ


ขั้นตอนการพับกระดาษ




นำกระดาษ A4 มาพับครึ่งดังภาพ


จากนั้นพับอีกครึ่งหนึ่งตามภาพ




           เมื่อพับกระดาษเป็นครึ่งหนึ่งแล้ว ให้นำมุมกระดาษด้านซ้ายพับเฉียงลงมาทางด้านขวาตามภาพ
         เมื่อพับตามภาพด้านบนแล้ว ต่อจากนั้นให้พับกลับมาโดยให้เป็นรูปสามเหลี่ยม


จากนั้นก็กลับกระดาษพลิกไปอีกด้านหนึ่ง แล้วพับเหมือนกัน


เมื่อพับทั้งสองด้านเสร็จแล้วก็จะมีลักษณะแบบนี้ค่ะ
         นำกรรไกรมาตัด สังเกตจากภาพจะตัดกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยมนะคะ
           เมื่อตัดเสร็จแล้ว ก็คลี่กระดาษออกก็จะได้กังหันที่มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉกตามภาพเลยค่ะ และถ้าหากว่าไม่เข้าใจขั้นตอนการพับและตัดกระดาษเป็นรูปกังหันหรือดาวห้าแฉก ก็สามารถดูจากลิ้งค์ด้านข้างของบล็อกเลยนะคะ เราจะขึ้นเอาไว้ให้ท่านสามารถคลิกชมตัวอย่างการทำได้เลยค่ะ
          เมื่อพับดาวหรือกังหันได้แล้วก็มาเป่าลูกโป่ง โดยต้องเป่าให้มีขนาดที่พอดีด้วยนะคะ
  
ดินน้ำมัน

          นำดินสอมาปักลงบนดินน้ำมันที่เตรียมไว้ แล้วก็นำกังหันมาวางไว้บนปลายดินสอ

          จากนั้นก็นำลูกโป่งมาถูกับศีรษะ 10 ครั้งหรือมากกว่า10 ครั้งก็ได้ แล้วนำลูกโป่งไปวนรอบๆกังหันรูปดาวอย่างช้าๆ และระวังอย่าให้ลูกโป่งแตะดาวกระดาษด้วยนะคะ จากนั้นให้สังเกตผลที่จะเกิดขึ้นค่ะว่าเป็นอย่างไร


เกิดอะไรขึ้น ?
            เมื่อถูลูกโป่งกับผม ลูกโป่งจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น ลูกโป่งที่มีประจุลบ จะผลักประจุลบบนดาวกระดาษด้านใกล้ ให้ไปอยู่ด้านไกล ทำให้แขนของดาวกระดาษที่อยู่ใกล้ลูกโป่ง มีประจุบวก เมื่อย้ายลูกโป่งไปรอบๆ ประจุลบบนลูกโป่ง จะดึงดูด ประจุบวก บนแขนดาวด้านใกล้ ทำให้ดาวกระดาษ หมุนตาม 
   


ขอบคุณที่เยี่ยมชมนะคะ