Cute Rocket

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 19

บันทึกครั้งที่ 19

สรุปงานวิจัย

เรื่อง การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

ปริญญานิพนธ์

ของ

เสกสรร มาตวังแสง

เสนอต่อบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษา
ตามหลักสูตรปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
ตุลาคม 2552


บทนำ


         พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 ได้บัญญัติสาระตามแนวทางการปฏิรูป
การศึกษา เพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางร่างกายและจิตใจ สติปัญญา ความรู้
และคุณธรรมมีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดำรงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข ใน
หมวด 4 มาตรา 22 การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่า ผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนา
ตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด โดยเฉพาะ เด็กอายุ 3-5 ปี เป็นวัยที่ร่างกายและสมองของเด็กกำลังเจริญเติบโต เด็กต้องการความรัก ความเอาใจใส่ดูแลอย่างใกล้ชิด เด็กวัยนี้มีโอกาสเรียนรู้จากการใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้สำรวจ เล่น ทดลอง ค้นพบด้วยตนเอง ได้มีโอกาสคิดแก้ปัญหาเลือกตัดสินใจ ใช้ภาษา สื่อความหมาย คิดริเริ่มสร้างสรรค์และอยู่ร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความสุข การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ในระดับปฐมวัยเป็นการจัดกิจกรรมที่กระตุ้นส่งเสริมให้เด็กสำรวจสิ่งแวดล้อมรอบตัวตามความสนใจของเด็กทั้งเป็นกลุ่มและรายบุคคลโดยการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เป็นกิจกรรมที่เน้นขั้นตอนทางการคิด การค้นคว้า การทดลองและการสรุปผล โดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเรียนรู้ด้วยตนเอง เด็กได้ลงมือกระทำ เรียนรู้ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า ได้เคลื่อนไหว สำรวจเล่น สังเกต สืบค้น ทดลอง และคิดแก้ปัญหาด้วยตนเอง ซึ่งสอดคล้องกับ กุลยา ตันติผลาชีวะ (2551: 170) ที่กล่าวว่า การเรียนรู้วิทยาศาสตร์เป็นกิจกรรมที่สร้างเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาปัญญาด้วยความสนุก เด็กได้ปฏิบัติจริง เรียนรู้จากการสัมผัสและการกระทำ เรียนรู้จากประสบการณ์ชีวิตเกิดมุมมองจากการได้สัมผัส ได้รับรู้ประสบการณ์ของตน ด้วยเหตุผลดังกล่าวข้างต้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาว่าการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ให้เด็กปฐมวัยจะส่งผลต่อการคิดวิจารณญาณเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งผลที่ได้จากการวิจัยครั้งนี้จะเป็นแนวทางให้แก่ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องกับเด็กปฐมวัยได้ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยหรือประยุกต์ใช้กับการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาด้านอื่นๆ ของเด็กต่อไป


ความมุ่งหมายของการวิจัย


          การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายสำคัญเพื่อศึกษาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ โดยมีความมุ่งหมายเฉพาะ ดังนี้

1. เพื่อศึกษาระดับการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์ โดยจำแนกรายด้าน ดังนี้ การวิเคราะห์ การใช้เหตุผล การสังเคราะห์ การประเมินค่า
2. เพื่อเปรียบเทียบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัด
กิจกรรมวิทยาศาสตร์


ความสำคัญของการวิจัย

          การศึกษาค้นคว้าครั้งนี้จะเป็นแนวทางสำหรับครูในการนำกิจกรรมวิทยาศาสตร์มาใช้
สำหรับเด็กปฐมวัยเพื่อพัฒนาการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย นอกจากนี้ยังเป็นแนวทางในการ
พัฒนาปรับปรุงรูปแบบการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยเกิดการคิดได้เต็มตามศักยภาพ
ตามจุดมุ่งหมายของการจัดการศึกษาระดับปฐมวัย ตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษาให้มี
ประสิทธิภาพ

ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย


ประชากร

          ประชากรที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้คือ เด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
สุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี 
ซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน 
จำนวน 50 คน


กลุ่มตัวอย่าง

          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นเด็กปฐมวัย ชาย – หญิง อายุระหว่าง 5 – 6 ปี
กำลังศึกษาอยู่ในระดับอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 ของโรงเรียนเทศบาลวัดเนิน
สุทธาวาส (สุทธิพงษ์ประชานุกูล) อ.เมืองชลบุรี จ.ชลบุรี สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลเมืองชลบุรี
โดยมีการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างดังนี้

1. เลือกนักเรียนมา 1 ห้องเรียนจากทั้งหมด 2 ห้องเรียนด้วยการจับสลาก
2. จับสลากนักเรียนจำนวน 15 คน ใช้เป็นกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย


ตัวแปรที่ศึกษา

1. ตัวแปรจัดกระทำ ได้แก่ การจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. ตัวแปรตาม ได้แก่ การคิดวิจารณญาณ


วิธีการดำเนินการศึกษาค้นคว้า

การวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้

1. การกำหนดประชากรและการเลือกกลุ่มตัวอย่าง
2. การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
4. การจัดกระทำและการวิเคราะห์ข้อมูล


การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

ในการวิจัยครั้งนี้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีดังนี้

1. แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
2. แผนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์

การเก็บรวบรวมข้อมูล

1. สร้างความคุ้นเคยกับกลุ่มตัวอย่าง 1 สัปดาห์ก่อนการทดลอง
2. ผู้วิจัยทำการทดสอบเพื่อวัดการคิดวิจารณญาณก่อนการทดลอง (Pre-test)
โดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น กับกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลอง
3. ดำเนินการทดลองด้วยตนเองโดยการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ จำนวน 8 สัปดาห์
4. เมื่อดำเนินการทดลองครบ 8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบการคิดวิจารณญาณ
หลังการทดลอง (Post-test) กับกลุ่มตัวอย่างโดยใช้แบบทดสอบการคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัย
ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นฉบับเดียวกันกับแบบทดสอบที่ใช้ก่อนการทดลอง
5. นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบทั้งก่อนและหลังการทดลองมาตรวจให้คะแนน และ
นำไปทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทางสถิติ เพื่อทดสอบสมมติฐานสรุปผลการวิจัยต่อไป

สรุปผลการวิจัย

เด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีการคิดวิจารณญาณ ดังนี้

1. ระดับการคิดวิจารณญาณ ของเด็กปฐมวัยหลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์์ในภาพรวมมีการคิดวิจารณญาณอยู่ในระดับมาก โดยมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 30.73
และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการใช้เหตุผลอยู่ในระดับมากที่สุดมีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.20 ส่วนด้านการวิเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.20 การสังเคราะห์มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ
8.00 และการประเมินค่ามีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 7.33 ซึ่งอยู่ในระดับมาก

2. การคิดวิจารณญาณของเด็กปฐมวัยในภาพรวม หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรม
วิทยาศาสตร์์ พบว่าเด็กปฐมวัยมีการคิดวิจารณญาณสูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 8.93
คะแนน สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และเมื่อ
พิจารณาเป็นรายด้านพบว่า หลังจากที่ได้รับการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เด็กปฐมวัยมีการ
วิเคราะห์สูงขึ้น มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 3.20 การใช้เหตุผลสูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ย
เท่ากับ 1.93 การสังเคราะห์สูงขึ้นมีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 2.20 และการประเมินค่าสูงขึ้น
มีค่าผลต่างคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 1.60 ทุกด้านสูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมวิทยาศาสตร์อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น