Cute Rocket

วันศุกร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2556

บันทึกครั้งที่ 11


บันทึกครั้งที่ 11
วันจันทร์ ที่ 19 สิงหาคม 2556
วันจันทร์ 19 สิงหาคม 2556





             วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอการทดลองวิทยาศาสตร์หน้าชั้นเรียน โดยกลุ่มของดิฉันได้นำเสนอการทดลองที่มีชื่อว่า กังหันไฟฟ้าสถิตย์  ( Electrostatic Fan ) ซึ่งกังหันไฟฟ้าสถิตย์ เป็นอุปกรณ์ที่แสดงถึงพลังของไฟฟ้าสถิตย์ ที่หลักแหลมตัวหนึ่ง แทนที่จะใช้ลูกโป่งดูดเศษกระดาษเล่นที่เห็นอยู่ทั่วไป นอกจากการเรียนรู้เรื่องไฟฟ้าสถิตย์แล้ว ยังจะเข้าใจเรื่องความฝืด และอีกเรื่องหนึ่งด้วยคือ ดาวกระดาษที่วางอยู่บนปลายดินสอที่แทบจะไม่มีความฝืดนั้น ทำให้เราสามารถใช้แรงผลักที่เกิดจากไฟฟ้าสถิตย์ เพื่อหมุนดาวกระดาษไปรอบๆ ได้ และขั้นตอนการทดลองก็มีดังนี้ค่ะ


อุปกรณ์ที่ต้องเตรียมสำหรับการทดลอง

อุปกรณ์

         1.กระดาษ A4 
          2.ลูกโป่ง 1 ลูก 
    3.ดินน้ำมัน 
  4.กรรไกร
5.ดินสอ


ขั้นตอนการพับกระดาษ




นำกระดาษ A4 มาพับครึ่งดังภาพ


จากนั้นพับอีกครึ่งหนึ่งตามภาพ




           เมื่อพับกระดาษเป็นครึ่งหนึ่งแล้ว ให้นำมุมกระดาษด้านซ้ายพับเฉียงลงมาทางด้านขวาตามภาพ
         เมื่อพับตามภาพด้านบนแล้ว ต่อจากนั้นให้พับกลับมาโดยให้เป็นรูปสามเหลี่ยม


จากนั้นก็กลับกระดาษพลิกไปอีกด้านหนึ่ง แล้วพับเหมือนกัน


เมื่อพับทั้งสองด้านเสร็จแล้วก็จะมีลักษณะแบบนี้ค่ะ
         นำกรรไกรมาตัด สังเกตจากภาพจะตัดกระดาษเป็นรูปสามเหลี่ยมนะคะ
           เมื่อตัดเสร็จแล้ว ก็คลี่กระดาษออกก็จะได้กังหันที่มีลักษณะคล้ายดาวห้าแฉกตามภาพเลยค่ะ และถ้าหากว่าไม่เข้าใจขั้นตอนการพับและตัดกระดาษเป็นรูปกังหันหรือดาวห้าแฉก ก็สามารถดูจากลิ้งค์ด้านข้างของบล็อกเลยนะคะ เราจะขึ้นเอาไว้ให้ท่านสามารถคลิกชมตัวอย่างการทำได้เลยค่ะ
          เมื่อพับดาวหรือกังหันได้แล้วก็มาเป่าลูกโป่ง โดยต้องเป่าให้มีขนาดที่พอดีด้วยนะคะ
  
ดินน้ำมัน

          นำดินสอมาปักลงบนดินน้ำมันที่เตรียมไว้ แล้วก็นำกังหันมาวางไว้บนปลายดินสอ

          จากนั้นก็นำลูกโป่งมาถูกับศีรษะ 10 ครั้งหรือมากกว่า10 ครั้งก็ได้ แล้วนำลูกโป่งไปวนรอบๆกังหันรูปดาวอย่างช้าๆ และระวังอย่าให้ลูกโป่งแตะดาวกระดาษด้วยนะคะ จากนั้นให้สังเกตผลที่จะเกิดขึ้นค่ะว่าเป็นอย่างไร


เกิดอะไรขึ้น ?
            เมื่อถูลูกโป่งกับผม ลูกโป่งจะมีประจุลบเพิ่มขึ้น ลูกโป่งที่มีประจุลบ จะผลักประจุลบบนดาวกระดาษด้านใกล้ ให้ไปอยู่ด้านไกล ทำให้แขนของดาวกระดาษที่อยู่ใกล้ลูกโป่ง มีประจุบวก เมื่อย้ายลูกโป่งไปรอบๆ ประจุลบบนลูกโป่ง จะดึงดูด ประจุบวก บนแขนดาวด้านใกล้ ทำให้ดาวกระดาษ หมุนตาม 
   


ขอบคุณที่เยี่ยมชมนะคะ




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น